อนุมูลอิสระ และ สารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร ?

อนุมูลอิสระ และ สารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร ?

ในยุคปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์สำหรับอุปโภค บริหารโภคหลายชนิด หลายชนิด ได้นำคำว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ , มีส่วนช่วยในการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ และอื่นๆ มาเป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์ หลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น นม อาหารเสริม น้ำผลไม้ เป็นต้น  จนทำให้เป็นที่ทราบกันของคนส่วนใหญ่ว่าสารต้านอนุมูลอิสระนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่บางคนแม้จะรู้ว่าดี แต่อาจยังจะไม่ทราบว่าเหตุใดถึงดี หรือตกลงแล้วสารต้านอนุมูลอิสระมีประโยชน์อะไรกันแน่ บทความนี้จะขอนำประเด็นนี้มาอธิบายให้ทุกท่านได้ทราบกัน

อนุมูลอิสระ คืออะไร?

อนุมูลอิสระ (Free Radicals) หมายถึงโมเลกุล หรืออะตอมที่ไม่เสถียรเนื่องจากการขาด อิเล็กตรอน ที่อยู่รอบนอกสุดของอะตอม อนุมูลอิสระนี้มีช่วงอายุสั้นเพียงแค่ไม่กี่เสี้ยววินาที แต่สามารถสร้างความเสียหายต่อ DNA ด้วยการแย่งจับอิเล็กตรอนของเซลล์อื่นในร่างกาย ที่เรียกว่าภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน (oxidative stress) ทำให้โมเลกุลของร่างกายไม่เสถียร เกิดความเสียหาย นำไปสู่การเกิดโรคและริ้วรอยบนร่างกาย และอาจเกิดการกลายพันธุ์จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในภายหลัง เราจึงมักจะต้องการสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยทำให้โมเลกุลที่ไม่เสถียรนี้มีความเป็นกลาง และช่วยปกป้องร่างกายจากการเสื่อมโทรมของเซลล์เหล่านี้

อนุมูลอิสระเกิดจากอะไร

  • ปัจจัยภายใน ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่

-กระบวนการร่างกายที่เผาผลาญ เพื่อสร้างพลังงาน

-กระบวนการกำจัด เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอม

  • ปัจจัยภายนอก  ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้

-ได้แก่อาหารปิ้ง ย่าง เกรียมๆ , แอลกฮอล์ , บุหรี่ , มลพิษ , รังสี UV , ยาและสารเคมีบางประเภท

       

ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ

  • มลภาวะทางอากาศ
  • การสูบบุหรี่
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาหารทอด
  • การอักเสบ
  • การฉายรังสี
  • ยาและสารเคมีบางชนิด
  • ไวรัสบางชนิด

อนุมูลอิสระทำให้เกิดโรคมะเร็งได้จริงหรือ?

โรคมะเร็ง มักจะเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ในร่างกาย ที่เกิดการเจริญเติบโตอย่างไม่สามารถควบคุมได้ของเซลล์ อนุมูลอิสระนั้นจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ DNA และส่งผลให้เกิดยีนที่สร้างโปรตีนที่ไม่สามารถใช้งานได้ขึ้นมา หลังจากนั้นร่างกายก็จะเกิดการสร้างยีนที่ทำหน้าที่ในการซ่อมแซม DNA ที่เสียหายเกินกว่าจะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้จากกระบวนการการตายของเซลล์ ยีนเหล่านี้จะช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์ จนอาจนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด

เราสามารถปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสระได้อย่างไร?

สิ่งสำคัญที่จะช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ก็คือสารต้านอนุมูลอิสระที่เราสามารถพบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในอาหาร เครื่องสำอาง หรืออาหารเสริมต่างๆ สารต้านอนุมูลอิสระนี้ก็คือโมเลกุลชนิดหนึ่ง ที่สามารถช่วยลดการสร้างอนุมูลอิสระภายในร่างกาย และช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากอนุมูลอิสระได้

สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ชนิดต่างๆ ได้แก่

  • วิตามินซี
  • วิตามินเอ
  • ซีลีเนียม
  • เบตาแคโรทีน
  • ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)
  • โอเมก้า 3
  • ไลโคปีน (Lycopene)

 

สารเหล่านี้สามารถพบได้ทั่วไปตามอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ถั่ว และธัญพืชต่างๆ เช่น ในมะเขือเทศก็มีสารไลโคปีนสูง หรือในแครอทก็มีสารเบตาแคโรทีนสูง เป็นต้น

สารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร

ในทางเคมีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)  คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่น กระบวนการออกซิเดชั่นมีได้หลายรูปแบบ เช่น กระบวนการออกซิเดชั่นที่ทำให้เหล็กกลายเป็นสนิม ทำให้แอปเปิลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือทำให้น้ำมันพืชเหม็นหืน หรือกระบวนการออกซิเดชั่นที่เกิดในร่างกาย เช่น การย่อยสลายโปรตีนและไขมันจากอาหารที่กินเข้าไป มลพิษทางอากาศ การหายใจ ควันบุหรี่ รังสียูวี ล้วนทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกายของเราซึ่งสร้างความเสียหายต่อร่างกายได้ ในความเป็นจริงไม่มีสารประกอบสารใดสารหนึ่งสามารถป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นได้ทั้งหมด แต่ละกลไกอาจต้องใช้สารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกันในการหยุดกระบวนการออกซิเดชั่น ในอีกทางหนึ่ง กระบวนการออกซิเดชั่นเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น เราใช้ออกซิเจนจากอากาศที่หายใจเข้าไปไปเผาผลาญอาหารที่ร่างกายได้รับให้เป็นพลังงานสำหรับการทำงานของเซลล์ต่างๆ แต่ก็ทำให้เกิดอนุมูลอิสระเป็นผลพลอยได้ อนุมูลอิสระต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลที่สำคัญในร่างกาย เช่น ไขมัน โปรตีน ดีเอ็นเอ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโมเลกุลดังกล่าว ตัวอย่างเช่น เมื่ออนุมูลอิสระทำปฏิกิริยากับแอลดีแอล (LDL : low-density  lipoprotein) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลตัวเลวทำให้เกิดออกซิไดซ์แอลดีแอล (oxidized LDL) ซึ่งมีหลักฐานยืนยันว่า ออกซิไดซ์แอลดีแอลเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดและเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจ

อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายเนื่องจากมีมูลเหตุจากออกซิเจน จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า reactive oxygen species (ROS) อนุมูลอิสระที่สำคัญ ได้แก่

  • ซูเปอร์ออกไซด์ แอนไอออน (superoxide anion) O2-l
  • ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide); H2O2
  • ไฮดรอกซิลแรดดิเคิล (hydroxyl radical); lOH

บทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระ

ทำไมการที่สารต้านอนุมูลอิสระสามารถป้องกันหรือกำจัดอนุมูลอิสระได้จึงมีความสำคัญ มีงานวิจัยมากมายบ่งชี้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลายโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคสมอง (เช่น อัลไซเมอร์) เป็นต้น รวมทั้งช่วยชะลอกระบวนการบางขั้นตอนที่ทำให้เกิดความแก่โดยปกติร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระก่อนที่มันจะทำอันตราย แต่ถ้ามีการสร้างอนุมูลอิสระเร็วหรือมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดทัน อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

7 ประโยชน์สำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ

1.ชะลอกระบวนการแก่ชรา
2.ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
3.ลดภาวะอาการอัลไซเมอร์
4.ลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
5.ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
6.ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองตีบ
7.ช่วยเป็นเกราะในการป้องกันมลพิษต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อม

Top 10 Clinics
Logo